บทบาทสำคัญของ "นวัตกร" ที่มีต่อความรุ่งเรืองของ "อุตสาหกรรมโลหการ"
ทราบหรือไม่โลหะถูกนำมาใช้ครั้งแรกในโลกเมื่อกว่า 10,000 ปีที่แล้ว ขณะที่จี้ทองแดงซึ่งค้นพบทางตอนเหนือของอิรักในปัจจุบันมีอายุถึง 8,700 ปีก่อนคริสตศักราช แสดงให้เห็นว่าโลหะมีความสำคัญต่ออารยธรรมของมนุษยชาติเป็นอย่างมาก ทุกวันนี้โลหะถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญของเครื่องบิน รถยนต์ รถยนต์ไฟฟ้า รถไฟ เรือ และยานพาหนะที่ทันสมัย ตลอดจนอาคาร เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องจักรกลการเกษตร เหรียญกษาปณ์ เครื่องประดับ ฯลฯ
ไม่มีวัสดุอื่นใดที่มีคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากมายขนาดนี้ โลหะแข็งแรงแต่เบา ทนทานแต่ทำให้อ่อนตัวได้ กระทั่งนำไฟฟ้าได้ ยิ่งเราค้นพบคุณสมบัติของโลหะมากเท่าใด เราก็สามารถสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น
หากย้อนประวัติศาสตร์กลับไปในปี 2399 หรือเมื่อ 167 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามี "นวัตกร" หรือผู้สร้างนวัตกรรมหลายคนที่มีคุณูปการต่ออุตสาหกรรมโลหการโลกเป็นอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ Henry Bessemmer นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ค้นพบว่าเตาหลอมแบบดั้งเดิมเติมคาร์บอนเข้าไปในเหล็กหลอมเหลวมากเกินไป เพื่อกำจัดมัน เขาแนะนำให้ระเบิดเหล็กหลอมเหลวด้วยออกซิเจนที่มากขึ้น ออกซิเจนส่วนเกินจะหลอมรวมกับคาร์บอนส่วนเกินและหลุดออกไปในรูปของ CO2
เทคนิคนี้กลายเป็นที่รู้จักในชื่อกระบวนการ Bessemmer ถือได้ว่าเป็นวิวัฒนาการที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนากระบวนการผลิตวัสดุเหล็กสำหรับงานก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นต้นแบบรากฐานที่ทำให้มีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตเหล็ก หนึ่งในโลหะยอดนิยม ตลอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมโลหการก็เป็นเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นทั่วโลกที่มุ่งสู่ความยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บทบาทของนวัตกรที่คิดค้นเทคโนโลยีโลหะสีเขียวได้รับการจับตามากยิ่งขึ้น อย่างการใช้ "โลหะไฮโดรเจน" ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ไฮโดรเจนแทนคาร์บอนเพื่อลดการปล่อย CO2 และเป็นประโยชน์ต่อความยั่งยืนในระยะยาวของอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งขณะนี้มีบริษัทผู้ผลิตเหล็กชั้นนำจากเยอรมนี เช่น Dillinger, Salzgitter AG และ Saarstahl รวมถึงบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่งอย่าง HYBRIT (สวีเดน) และ Voestalpine (ออสเตรเลีย) ได้เริ่มใช้วิธีการนี้แล้ว
สำหรับอีกหนึ่งนวัตกรรมในอุตสาหกรรมโลหการที่น่าจับตาเกี่ยวข้องกับ "การรีไซเคิลโลหะแบตเตอรี่" เนื่องจากโลหะทั่วโลกมีอยู่อย่างจำกัด และด้วยการเพิ่มขึ้นของการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานแล้วกลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ความต้องการรีไซเคิลโลหะแบตเตอรี่จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นเพื่อปิดวงจรชีวิตโลหะของแบตเตอรี่ ทำให้ความต้องการวัสดุบริสุทธิ์จึงลดลง ในขณะที่มวลสีดำซึ่งเกิดจากบดและย่อยเซลล์แบตเตอรี่เก่า และประกอบด้วยโลหะมีค่าต่าง ๆ เช่น โคบอลต์ นิกเกิล แมงกานีส และลิเทียม กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าในการกู้คืนชีวิตของแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว แต่ก็มีอุปสรรคสำคัญคือ ความยุ่งยากในการแยกโลหะเหล่านี้ออกจากกัน
นวัตกรของบริษัท Sensmet ประเทศฟินแลนด์ จึงพัฒนา µDOES ® (Micro-Discharge Optical Emission Spectroscopy) เครื่องวิเคราะห์ออนไลน์แสดงปริมาณแบตเตอรี่และโลหะเจือปนทั้งหมดแบบเรียลไทม์ ช่วยให้การรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วซึ่งเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อนอย่างยิ่ง มีความสะดวกสบายและง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก โดยโซลูชันของ Sensmet เป็นขั้นตอนสำคัญในการกำหนดคุณลักษณะของมวลสีดำและขั้นตอนการตรวจสอบกระบวนการต่าง ๆ จากเดิมต้องอาศัยการสุ่มตัวอย่างเฉพาะจุด ซึ่งใช้เวลานาน และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก แต่ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ความแม่นยำ ผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ และการใช้งานง่าย µDOES ของ Sensmet จึงโดดเด่นและเป็นนวัตกรรมที่ทำให้การรีไซเคิลโลหะแบตเตอรี่ไม่ใชยาขมอีกต่อไป
สำหรับผู้ที่สนใจความเคลื่อนไหวล่าสุดของอุตสาหกรรมโลหการ และต้องการก้าวขึ้นเป็นนวัตกรมือฉมังด้านโลหการ ขอเชิญร่วมขยายมุมมองและสำรวจความเป็นไปได้ทางเทคนิคและการผลิตใหม่ ๆ กับนวัตกรรมที่ทำให้กระบวนการผลิตเร็วขึ้น แม่นยำขึ้น และใช้พลังงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงนวัตกรรมที่ทำให้สามารถผลิตสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยผลิตได้มาก่อน โดยจะนำมาเปิดตัวเป็นครั้งแรกในโลก รวมถึงในเอเชีย และในอาเซียน ที่งาน "เมทัลเล็กซ์ 2023" ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2566 ณ ไบเทค บางนา ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล [email protected] และโทร 02 686 7222