20-23 พฤศจิกายน 2567

ข่าวอุตสาหกรรม

ในสถานการณ์ที่เรามีความต้องการหน้ากากป้องกันโควิดอย่างมากนี้ เครื่องพิมพ์ 3 มิติหรือ 3D Printer เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเติมเต็มความต้องการนี้ และเมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยสากล กรุ๊ป จำกัด ได้นำเอาความสามารถของ 3D Printer ที่สามารถขึ้นรูปหน้ากากเฟสชีลด์ (Face Shield) มาผลิตและได้ส่งมอบเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ โดยมอบให้กับสถาบันทางการแพทย์หลายแห่ง

นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อร่วมแก้ไขสถานการณ์โควิด ที่เราขอปรบมือให้ ไทยสากล รัวๆ และขอแสดงความชื่นชมและยกย่องครับ

#WeAreHereForYou #thaisakol #faceshiled #fightcovid

อากาศยานไทย ทะยานเติบโตสู่ภาคธุรกิจใหม่

การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินทำให้การเดินทางมีความสะดวก และครอบคลุมมากขึ้น ในราคาที่จับต้องได้ จึงทำให้ธุรกิจการบินทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบันธุรกิจการบินได้หันเหทิศทางการเติบโตไปสู่ซีกโลกตะวันออก หรือ เอเชียแปฟิซิก ทำให้ภูมิภาคนี้ครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 42% และจำนวนผู้โดยสารยังเพิ่มขึ้นถึง 2.35 พันล้านคนต่อปี* โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ธุรกิจการบินมีอัตราการเติบโตเร็วมากที่สุด เพราะด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อม ทำให้สมาคมขนส่งระหว่างประเทศ (International Air Transport Association -  IATA) คาดการณ์ว่า จำนวนผู้โดยสารใหม่ที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศจะมีมากถึง 116 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นจำนวนทั้งหมด 214 ล้านคน ภายในปี 2580

ธุรกิจ MRO และโอกาสในอนาคต

เนื่องจากการเดินทางด้วยเครื่องบินที่มากขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์ว่า จะมีการนำเครื่องบินเข้ามาใช้เป็นจำนวนมากขึ้นถึงสามเท่า โดยจะเพิ่มจาก 6,000 ลำ เป็น 17,000 ลำ ภายในปี 2579** และคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ความต้องการในบริการด้านวิศวกรรมก็จะเพิ่มตามมาด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ งานซ่อมบำรุงเครื่องบิน ดังนั้น ประเทศไทยจึงเริ่มพัฒนาศักยภาพ และตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมอากาศยานและบริการซ่อมบำรุง หรือที่เรียกว่า MRO (Maintenance, Repair, and Overhaul) เพื่อคว้าโอกาสที่จะเข้ามาในอนาคตอันใกล้ โดยโครงการที่กำลังดำเนินการเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นของธุรกิจนี้คือ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาที่กำลังขยายอย่างต่อเนื่อง และเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการสร้าง  มหานครการบินของภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Aerotropolis – EECa) อีกทั้งทางภาครัฐฯ ยังให้สิทธิประโยชน์มากมายแก่ผู้ที่สนใจลงทุนในธุรกิจนี้ เพื่อเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมอากาศยานไทย

ชิ้นส่วนอากศยานกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

เมื่อมองจากปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด ธุรกิจ MRO มีศักยภาพที่จะเติบโตได้ดีในอนาคต รวมถึงความต้องการชิ้นส่วนและส่วนประกอบของอากาศยาน ก็จะเพิ่มตามมาด้วยเช่นกัน นอกจากประเทศไทยจะมีข้อได้เปรียบด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สิทธิประโยชน์ ทำเลที่ตั้ง และความพร้อมของแรงงานที่มีทักษะ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบที่ซับซ้อนของอากาศยาน คือ เทคโนโลยีการผลิตที่มีความแม่นยำสูง (High-precision technology) นั่นเอง งานเมทัลเล็กซ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญนี้ และจะร่วมเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดัน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ

ที่มา:
 *International Air Transport Association (IATA)
**Airbus Global Market Forecast Report

อลูมิเนียม วัสดุดาวเด่นในอุตสาหกรรมการผลิต

การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตทำให้อลูมิเนียมเข้ามาเป็นวัสดุสำคัญ ซึ่งตอบโจทย์การใช้งานที่ต้องการสมรรถภาพสูง หลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ การก่อสร้าง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอากาศยาน ต้องการชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักเบา แข็งแรง และทนทานมากขึ้น ซึ่งอลูมิเนียมมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้และกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดโลก โดยเฉพาะในเอเชียที่เห็นได้รายงานจาก Future Market Insights ที่คาดการณ์ว่า มูลค่าตลาดอลูมิเนียมในเอเชียมีอัตราเฉลี่ยแบบทบต้นอยู่ที่ 4.5% ต่อปีภายในปี 2572 นอกจากนั้น อลูมิเนียมยังมีบทบาทสำคัญมากในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ดังที่ข้อมูลวิเคราะห์ของ Market Research Future เผยไว้ว่า ส่วนแบ่งตลาดของวัสดุชนิดนี้ในภูมิภาคนี้มีมากถึง 63.6%

ความสำคัญของ“อลูมิเนียม” ในอุตสาหกรรมขั้นสูงของไทย

ประเทศไทยกำลังดำเนินแผนนโยบายและการพัฒนาต่างๆ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมขั้นสูง โดยรัฐบาลไทยได้จัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (อุตสาหกรรม S-Curve) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในอนาคต อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ร่วมด้วย โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่กำลังมีการขยับขยาย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อรองรับและกระตุ้นการลงทุนของอุตสาหกรรมขั้นสูง ทำให้อลูมิเนียมจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นไปอีก เพื่อตอบสนองการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต

โครงการ EEC ขยายอย่างต่อเนื่อง ดึงดูดผู้ลงทุนด้านโลหะการขั้นสูง

ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังผลักดันพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเข้มข้น โดยหนึ่งในโครงการใหญ่ที่ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้คือ EEC (Eastern Economic Corridor – โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ซึ่งได้ถูกวางแผนและสร้างขึ้นมาเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตและบริการ ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในอนาคต  ภายในโครงการ EEC นี้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ดิจิทัล อากาศยาน และอื่นๆ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่นี้มีชื่อว่า กลุ่มอุตสาหกรรม S-curve และถูกตั้งเป้าให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้จึงได้รับนโยบายสนับสนุนหลายรายการจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำให้เมื่อต้นปีมานี้ ยอดคำขอรับส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่ารวมถึง 286,520 ล้านบาท

นอกจากนโยบายสนับสนุนด้านการลงทุนแล้ว โครงการ EEC ยังได้มีการพัฒนาระบบขนส่งที่ไร้รอยต่อ ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ อาทิ การก่อสร้างทางหลวง ระบบรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา การพัฒนาและขยายท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุตในระยะที่ 3 และท่าเรือพาณิชย์สัตหีบกับสนามบินอู่ตะเภา

พัฒนาการเร่งความต้องการด้านเทคโนโลยี

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และการลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นสูงที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ ส่งผลให้มีความต้องการโลหะการขั้นสูงที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โซลูชั่นด้านเครื่องจักรกล และโลหะการจึงเป็นที่ต้องการของผู้ผลิตและนักพัฒนา ในการนำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนโครงสร้าง เครื่องจักร และผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมการขยายโครงการและการเติบโตของอุตสาหกรรม ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ จะเข้ามายกระดับอุตสาหกรรมการผลิตและสนับสนุนประเทศไทยได้ในระยะยาว คำถามก็คือ ผู้ผลิตและนักพัฒนาจะมองหาเทคโนโลยียุคใหม่นี้ได้จากที่ไหน? 

เพื่อตอบคำถามนี้ งานเมทัลเล็กซ์ จึงมุ่งหน้าเป็นศูนย์กลางของชุมชนอุตสาหกรรมโลหะการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้จำหน่ายเทคโนโลยีได้เข้ามาสาธิตการทำงานของเครื่องจักรที่ล้ำสมัยและได้เข้ามาพบกับผู้ซื้อตัวจริง พบโอกาสทางธุรกิจมากมายในงานแห่งปีที่เป็นจุดนัดพบของนักอุตสาหกรรมชั้นนำ เสริมสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจที่สมบูรณ์แบบด้วยกิจกรรมประชาสัมพันธ์ผู้แสดงสินค้าตลอดปี และบริการจับคู่ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ

หากคุณคือผู้จำหน่ายเทคโนโลยีที่ต้องการคว้าโอกาสทางธุรกิจในประเทศไทยและอาเซียน ต้องไม่พลาดเข้าร่วมงานเมทัลเล็กซ์ 2020 วันที่ 18-21 พฤศจิกายนนี้ ที่ไบเทค บางนา

5G ใกล้เป็นจริง! อุตสาหกรรมการผลิตเตรียมยกระดับประสิทธิภาพใหม่

เทคโนโลยี 5G นั้นถือเป็นปัจจัยหลักที่จะสร้างผลกระทบและเป็นพลังในการยกระดับการผลิตอัจฉริยะผ่านการพัฒนาศักยภาพฮาร์ดแวร์และระบบเซ็นเซอร์ พร้อมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ 5G ยังช่วยให้สามารถนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ออฟ ทิงส์ (Internet of Things - IoT) เข้ามาใช้ ซึ่งจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ จากระยะไกลได้

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ประกาศออกมาว่าไทยอาจเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จะนำระบบ 5G เข้ามาใช้ ซึ่งหลังการเตรียมการมาร่วม 2 ปี ล่าสุด กสทช. ได้ประกาศไทม์ไลน์ของ 5G ก็ได้ออกมาให้เห็นกันแล้ว โดยการประมูล 5G จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 ก.พ.2563 โดยผู้ให้บริการมือถือที่ชนะการประมูล จะต้องเปิดให้บริการในเดือน ก.ค. 2563

อุตสาหกรรมการผลิตในไทยกำลังจะเข้าสู่การยกระดับประสิทธิภาพใหม่ด้วย 5G และเพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการเครื่องจักรอัจฉริยะที่เพิ่มมากขึ้น เมทัลเล็กซ์ 2020 จะเป็นเวทีที่จะเข้ามารองรับความต้องการเครื่องจักรใหม่ที่ใช้ระบบ 5G เช่น อินเทอร์เน็ต ออฟ ทิงส์ (Internet of Things – IoT) และ เซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Smart Sensor) และอื่นๆ ด้วยจำนวนเทคโนโลยีกว่า 4,000 แบรนด์ จาก 50 ประเทศ ผนวกกับเครือข่ายธุรกิจและความรู้ที่เป็นสากล ทำให้ผู้ร่วมงานสามารถรับมือกับความท้าทายในอนาคตและขึ้นนำในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

หมายเหตุ!

METALEX” เป็นงานสำหรับการเจรจาธุรกิจ ผู้เข้าชมงานต้องแต่งกายสุภาพ สวมกางเกงขายาว หรือกระโปรง และรองเท้าหุ้มส้นเท่านั้น ไม่อนุญาตเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปีให้เข้าชมงาน ผู้จัดงานสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าชมงานได้ โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล